การฝึกปฏิบัติงาน ดนตรีบำบัด
ช่วงเวลา และการจัดเวลา
หลักสูตรกำหนดให้ผู้เรียนจะต้องทำการฝึกงาน 2 วันต่อสัปดาห์ โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
จนถึงภาคการศึกษาที่ 2 ในปีการศึกษาที่ 2
สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน เช่น โรงพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
ในแต่ละภาคการศึกษา
1. ในปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษามีความเข้าใจในบริบทสถานที่ฝึกงาน และเข้าใจบทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานนั้น
2. ในปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษาเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะนักศึกษาดนตรีบำบัด และเข้าใจบทบาทของดนตรีบำบัดในสถานที่ฝึกงานดังกล่าว และสามารถระบุกลุ่มบุคคลที่เหมาะกับการรับบริการดนตรีบำบัดในสถานที่ฝึกงานนั้นได้
3. ในปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 จนกระทั่งสิ้นสุดการฝึกงาน นักศึกษาสามารถสร้างระบบการรับผู้ป่วยจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ สามารถทำการประเมิน ออกแบบการให้บริการดนตรีบำบัด และจัดพื้นที่ในการให้บริการดนตรีบำบัด และอุปกรณ์ที่จำเป็นได้อย่างเหมาะสม
4. ในปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 จนกระทั่งสิ้นสุดการฝึกงาน นักศึกษาสามารถให้บริการดนตรีบำบัดในรูปแบบกลุ่ม และรูปแบบตัวต่อตัวได้ในหลากหลายบริบท และนักศึกษาจะต้องให้บริการดนตรีบำบัดอย่างน้อย 1 คน ต่อวัน และ 1 กลุ่มต่อวัน ในสถานที่ฝึกงานนั้น ๆ
5. ในปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 จนกระทั่งสิ้นสุดการฝึกงาน นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอื่นได้อย่างเหมาะสม และปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของหน่วยงานที่เข้าไปฝึกงานได้เป็นอย่างดี